เว็บไซต์ของเทศบาลตำบลดงหลวง มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
ปิดเมนู ×
เมนูหลัก (Main)
camera_alt
ภาพกิจกรรม
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
folder
ประกาศเทศบาลตำบลดงหลวง
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง egp
thumb_up
facebook เทศบาลตำบลดงหลวง
ข้อมูลหน่วยงาน
image
สถานที่ท่องเที่ยว
assistant_photo
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
place
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
ข้อมูลบุคลากร
group
ผู้บริหาร
group
ฝ่ายสภา
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
group
สำนักปลัด
group
กองคลัง
group
กองช่าง
group
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
group
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
group
สำนักปลัด (งานการศึกษา)
group
ผู้บริหารองค์กร
group
หน่วยตรวจสอบภายใน
ข้อมูลข่าวสาร
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
home
ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน
โครงสร้างส่วนราชการ
verified_user
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
apps
โครงสร้างส่วนราชการ
group
ข้อมูลผู้บริหาร
help_outline
เทศบาลคืออะไร?
verified_user
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
volume_down
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหน่วยงาน
apps
องค์ประกอบของเทศบาล
verified_user
ยุทธศาสตร์
folder
แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี พ.ศ.2566-2570
home
ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน
place
แผนที่
folder
ประกาศเทศบาลตำบลดงหลวง
public
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดงหลวง
folder
กฎบัตรการตรวจสอบภายใน
folder
แผนการบริหารจัดการความเสี่ยง
ข่าวประชาสัมพันธ์
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
cast
ประกาศราคากลาง-RSS
cast
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง-RSS
cast
ประกาศเชิญชวน-RSS
cast
ประกาศรายชื่อผู้ชนะการเสนอราคา-ประกาศผู้ได้รับการคัดเลือก
บริการข้อมูล
thumb_up
facebook เทศบาลตำบลดงหลวง
แผนการดำเนินงาน
folder
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี-รอบ-6-เดือน
folder
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
folder
แผนการดำเนินงานประจำปี
งานกิจการสภาฯ
folder
รายงานกิจการสภาฯ
การปฏิบัติงาน
folder
คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
การให้บริการ
folder
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
folder
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
folder
คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
folder
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
folder
รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ-ประจำ-รอบ-6-เดือน
folder
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
folder
เทศบัญญัติงบประมาณ
folder
เทศบัญญัติตำบลดงหลวง
การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน
folder
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
folder
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
folder
รายงานผลการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
folder
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
folder
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
folder
คำสั่งมอบหมายหน้าที่การงาน
folder
ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาล
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
folder
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
folder
การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy
folder
ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
folder
การขับเคลื่อนจริยธรรม
folder
การประเมินจริยธรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
folder
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
share
สำรวจความคิดเห็น
sentiment_very_satisfied
สำรวจความพึงพอใจ
group
ร้องเรียน/ร้องทุกข์ ออนไลน์
camera
สมุดเยี่ยม
video_label
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
mail
สายตรงผู้บริหาร โทร. 084-2233073
thumb_up
กระดานสนทนา
check
ita2563
public
e-service
เว็บไซต์บริการ
public
สลากกินแบ่งรัฐบาล
ข้อมูล
ร้องเรียน/ร้องทุกข์
ออนไลน์ Online
สายตรง
ผู้บริหาร
ศูนย์บริการ
ข้อมูลข่าวสาร
กระดานสนทนา
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น
ITA (OIT)
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารปี 2563
e-service
ลงทะเบียนรับความช่วยเหลือ
สมุดเยี่ยม
ลงชื่อเข้าชมหน่วยงาน
THSarabunNew
11
Facebook
เทศบาลตำบลดงหลวง
ช่องทางร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ร้องเรียนการทุจริต
เจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ online
ถาม-ตอบ Q&A
สอบถามข้อมูลต่างๆ online
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในการดำเนินงาน/การปฏิบัติงาน
คู่มือหรือมาตรฐาน
การปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คู่มือหรือมาตรฐาน
การให้บริการของ อปท.
บุคลากรภายใน
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
verified_user
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
verified_user
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
แผนการดำเนินงาน
folder
ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่
folder
การประเมินผลและรายงาน No Gift Policy
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
folder
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
folder
ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
folder
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
การประเมินความเสี่ยงเพื่อการป้องกันการทุจริต
folder
การดำเนินการเพื่อการจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ
folder
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจําปี
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
folder
รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
folder
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
มาตรการภายในเพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต
folder
มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
folder
มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม
folder
มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ
folder
มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
folder
มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม
folder
มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจ
folder
มาตรการป้องกันการรับสินบน
folder
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
folder
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
แบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ระบบข้อมูลข่าวสาร
เว็บไซต์
กรมส่งเสริม
info
ระบบข้อมูลกลาง อปท
เว็บไซต์
อปท.ทั่วประเทศ
ข้อมูล
อปท.ทั่วประเทศ
แผนที่ภาษี
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อมูล
ด้านการเงินการคลัง อปท
รหัสผ่าน
อปท. สำหรบฝึกอบรม
ข้อมูล
ครู อปท.ทั่วประทศ
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มทางราชการ
e-LAAS
ระบบบันทึกบัญชีท้องถิ่น
e-plan
ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผน
เบี้ยยังชีพ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบ LEC
การศึกษาท้องถิ่น
ระบบ
ศูนย์ข้อมูลเลือกตั้ง อปท
ช่องทาง
การร้องเรียนในการบริหารงานบุคคล
เทศบาลตำบลดงหลวง
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
☰ เลือกเมนู
เทศบาลตำบลดงหลวง
home
เมนูหลัก (Main)
camera_alt
ภาพกิจกรรม
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
folder
ประกาศเทศบาลตำบลดงหลวง
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง egp
thumb_up
facebook เทศบาลตำบลดงหลวง
desktop_mac
ข้อมูลหน่วยงาน
image
สถานที่ท่องเที่ยว
assistant_photo
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
place
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
today
ข้อมูลบุคลากร
group
ผู้บริหาร
group
ฝ่ายสภา
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
group
สำนักปลัด
group
กองคลัง
group
กองช่าง
group
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
group
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
group
สำนักปลัด (งานการศึกษา)
group
ผู้บริหารองค์กร
group
หน่วยตรวจสอบภายใน
forum
ข้อมูลข่าวสาร
volume_down
ข่าวประชาสัมพันธ์
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
home
ข้อมูลการติดต่อหน่วยงาน
เทศบาลตำบล
ดงหลวง
อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
apps
องค์ประกอบของเทศบาล
โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาล
โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาล ประเภทของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้กำหนดให้เทศบาลในประเทศไทยมีทั้งหมด 3 ประเภท อันได้แก่ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล ซึ่งเทศบาลแต่ละประเภทก็มีลักษณะและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไปดังมีรายละเอียดดังนี้ เทศบาลนคร เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลนคร (ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป) การจัดตั้งเทศบาลนครจะกระทำได้โดยการประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร [1] เทศบาลนครประกอบไปด้วยสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี (หรือนายกเทศมนตรี) แล้วแต่กรณี โดยที่สภาเทศบาลมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 24 คน [2] โดยมีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน[3] นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้เทศบาลนครมีหน้าที่แตกต่างไปจากเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลอีกด้วย เทศบาลเมือง เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่หนึ่งหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลเมือง การจัดตั้งเทศบาลเมืองจะกระทำได้โดยการประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง [4] เทศบาลเมืองประกอบไปด้วยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี โดยที่สภาเทศบาลมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 18 คน[5] และมีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน [6] เทศบาลตำบล เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[7] (เทศบาลตำบลไม่ได้กำหนดจำนวนราษฎรในพื้นที่ไว้อย่างชัดเจนเหมือนกับเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร) เทศบาลตำบลประกอบไปด้วยสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี โดยที่สภาเทศบาลมีสมาชิกสภาเทศบาลได้ 12 คน[8] โดยมีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน[9]
โครงสร้างของเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี
เดิมก่อนปี พ.ศ. 2543 เทศบาลในประเทศไทยมีเพียงรูปแบบเดียว คือ เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี แต่ในปัจจุบันภายหลังปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา กฎหมายได้เปิดโอกาสให้เทศบาลมีรูปแบบเพิ่มขึ้นได้อีกรูปแบบหนึ่งก็คือ เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี ซึ่งเทศบาลใดจะใช้รูปแบบคณะเทศมนตรี หรือ เทศบาลรูปแบบนายกเทศมนตรีให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเทศบาล อย่างไรก็ตาม ในปลายปี พ.ศ. 2546 มีการแก้ไขกฎหมายเทศบาลอีกครั้ง เป็นผลให้เทศบาลคงเหลือเพียงรูปแบบเดียว คือ เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และเป็นจุดสิ้นสุดเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี สำหรับเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี มีรายละเอียดดังนี้ รูปแบบคณะเทศมนตรี คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโครงสร้างในรูปแบบสภา กับ ฝ่ายบริหาร กล่าวคือ มีการแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกัน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ ฝ่ายบริหาร(ในที่นี้หมายถึงนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี) มาจากการเลือกของสภาเทศบาล และสภาเทศบาลยังมีอำนาจในการควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างใกล้ชิด และในบางกรณีอาจกำหนดการดำรงอยู่ของฝ่ายบริหารได้ มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กำหนดไว้ว่า “ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล” ขณะเดียวกันก็กำหนดสถานะของนายกเทศมนตรีให้เป็นหัวหน้าในการบริหารงานของเทศบาล โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้ช่วย กฎหมายยังได้กำหนดผู้ที่มีคุณสมบัติของนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไว้ด้วยว่าต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาล นั้นก็หมายถึง นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจะทำหน้าที่ในสองสถานะ คือ สถานะของฝ่ายบริหารและสถานะของสมาชิกสภาเทศบาล ดังนั้น ความเกี่ยวพันกันของฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาจึงมีอยู่อย่างใกล้ชิด โดยสรุป โครงสร้างและรูปแบบความสัมพันธ์ของคณะเทศมนตรีกับสภาเทศบาล มีดังรูปข้างล่างดังนี้ จากแผนภาพข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรีมีองค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ “สภาเทศบาล” เพราะสภาเทศบาลทำหน้าที่ในการเลือกฝ่ายบริหาร และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารด้วย นอกจากนี้การดำรงอยู่ของฝ่ายบริหารก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายสภาด้วยเช่นกัน การที่ผู้เขียนกล่าวว่า การดำรงอยู่ของฝ่ายบริหารขึ้นอยู่กับฝ่ายสภา ไม่ได้หมายความว่าสภาเทศบาลจะสามารถอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะเทศมนตรีได้ แต่สภาเทศบาลยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ในการทำให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถบริหารงานต่อไปได้ และในบางกรณีอาจถึงการพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี เครื่องมือที่สำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลที่ฝ่ายสภาเทศบาลมีต่อฝ่ายบริหาร ในรูปแบบคณะเทศมนตรี ก็คือ เครื่องมือในการควบคุมงบประมาณ กล่าวคือ มาตรา 62 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กำหนดว่า “ “ในกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณในกรณีแห่งเทศบาลตำบล ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังนายอำเภอ เพื่อส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเร็ว ในกรณีแห่งเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาร่างเทศบัญญัตินั้น ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติ ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาลที่ไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัตินั้น ให้ส่งคืนสภาเทศบาลพิจารณาใหม่ ในกรณีที่สภาเทศบาลยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมด ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป แต่ถ้าสภาเทศบาลยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลทั้งหมด ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างเทศบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อลงชื่ออนุมัติ บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการบริหารเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี” ” และในมาตรา 45 ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ยังระบุต่อไปอีกว่า “ “เทศมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ… (4) สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณและผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับสภาเทศบาล หรือสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลที่อยู่ในตำแหน่ง” ” จากทั้ง 2 มาตรา เห็นได้ว่า สภาเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรีนั้น มีอำนาจค่อนข้างมากโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการพิจารณารับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี ซึ่งหากสภาเทศบาลไม่รับหลักการแล้ว โอกาสที่คณะเทศมนตรีทั้งคณะจะต้องพ้นออกจากตำแหน่งก็มีสูงมาก อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ไม่ได้กำหนดให้สภาเทศบาลเป็นเพียงองค์กรเดียวที่จะทำให้ฝ่ายบริหารของเทศบาลต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะกฎหมายยังกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้องในการตัดสินใจของสภาเทศบาลอีกชั้นหนึ่ง หากผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับการตัดสินใจของสภาเทศบาลแล้ว ร่างเทศบัญญัตินั้นก็ตกไป แต่หากผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย สภาเทศบาลต้องกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง และหากยังยืนยันตามการตัดสินใจในครั้งแรกต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามในการลงมติครั้งที่สอง กลไกนี้ ทำให้การดำรงอยู่ของนายกเทศมนตรีและคณะเทศมนตรี ต้องขึ้นอยู่กับสภาเทศบาล จนในบางครั้งทำให้เทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยครั้งเพราะสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณร่ายจ่ายประจำปีตามเงื่อนไขข้างต้น ดังนั้นจึงมีผู้กล่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาในรูปแบบคณะเทศมนตรีนี้ เป็นรูปแบบ “ฝ่ายบริหารอ่อนแอ
แผนภาพที่ 1: แสดงโครงสร้างของเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี กับ สภาเทศบาล
โครงสร้างของเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี
สำหรับโครงสร้างของเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรีนั้น มีโครงสร้างหลักที่คล้ายกับเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี แต่ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารของเทศบาลกับฝ่ายสภาเทศบาลเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรี หัวหน้าฝ่ายบริหาร(นายกเทศมนตรี) และสมาชิกสภาเทศบาล มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงทั้งคู่ และในขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีสามารถมี “ผู้ช่วย” ได้เช่นกัน แต่ผู้ช่วยของนายกเทศมนตรีในรูปแบบนี้จะไม่เรียกว่า “เทศมนตรี” แต่จะเรียกว่า “รองนายกเทศมนตรี” ซึ่งจำนวนของรองนายกเทศมนตรีจะมีได้เท่าใดขึ้นอยู่กับขนาดของเทศบาลตามที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาเทศบาล เป็นไปด้วยความห่างเหินเมื่อเปรียบเทียบกับเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี กล่าว คือ ความสัมพันธ์มีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) นายกเทศมนตรีจะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล (2) รองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี (3) รองนายกเทศมนตรีจะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล จากความสัมพันธ์ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสภาเทศบาลกับฝ่ายบริหารห่างเหินกัน มีการแบ่งแยกฝ่ายบริหารและฝ่ายสภาออกจากกันอย่างชัดเจน และต่างมีสถานะเพียงสถานะเดียวคือถ้าไม่เป็นฝ่ายบริหารก็ต้องเป็นฝ่ายสภาเทศบาล ซึ่งผิดกับเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรีที่นายกเทศมนตรีและเทศมนตรีจะมีสถานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลด้วยเช่นกัน สำหรับสาระสำคัญในประการอื่นของเทศบาลในรูปแบบนายกเทศมนตรีนั้น ผู้เขียนได้อธิบายไปบ้างแล้วในหัวข้อที่แล้ว ในส่วนนี้ผู้เขียนจะขอย้ำถึงความสำคัญในบางประการดังนี้ (1) นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง (2) การดำรงอยู่ของนายกเทศมนตรี ไม่ขึ้นอยู่กับสภาเทศบาล (3) สภาเทศบาลไม่ได้ทำหน้าที่ในการเลือกฝ่ายบริหาร เพราะประชาชนเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหารโดยตรง (4) ในกรณีการรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล มีกลไกที่แตกต่างจากเทศบาลในรูปแบบคณะเทศมนตรี ดังที่มาตรา 62 ตรี [10] กำหนดไว้ว่า “ในกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการจำนวนสิบห้าคน เพื่อพิจารณาหาข้อยุติความขัดแย้งโดยแก้ไข ปรับปรุง และยืนยันสาระสำคัญในร่างเทศบัญญัตินั้น ทั้งนี้ ให้ยึดถือหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประโยชน์ของท้องถิ่นและประชาชนเป็นสำคัญ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งสภาเทศบาลเสนอจำนวนเจ็ดคน และบุคคลซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งนายกเทศมนตรีเสนอจำนวนเจ็ดคน โดยให้แต่งตั้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาเทศบาลมีมติไม่รับหลักการ และให้กรรมการทั้งสิบสี่คน ร่วมกันปรึกษาและเสนอบุคคลซึ่งมิได้เป็นนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายก เทศมนตรี และมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลคนหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการดังกล่าวภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่กรรมการครบจำนวนสิบสี่คน ในกรณีที่ไม่สามารเสนอบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นกรรมการหรือประธานกรรมการได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง หรือกรรมการหรือประธานกรรมการไม่ปฏิบัติ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งบุคคลซึ่งมิได้เป็นนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลทำหน้าที่กรรมการหรือประธานกรรมการดังกล่าวให้ครบตามจำนวน ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งพิจารณาร่างเทศบัญญัติให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้แต่งตั้งประธานกรรมการในคราวแรก แล้วรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่คณะกรรมการไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ประธานกรรมการรวบรวมผลการพิจารณาแล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว แล้วรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งร่างเทศบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการหรือประธานคณะกรรมการในวรรคสี่ให้นายกเทศมนตรีโดยเร็ว แล้วให้นายกเทศมนตรีเสนอร่างเทศบัญญัติดังกล่าวต่อสภาเทศบาลตามมาตรา 61 ทวิ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับร่างเทศบัญญัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด หากนายกเทศมนตรีไม่เสนอร่างเทศบัญญัตินั้นต่อสภาเทศบาลภายในเวลาที่กำหนด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง” เมื่อสภาเทศบาลได้รับร่างเทศบัญญัติจากนายกเทศมนตรีแล้ว ให้สภาเทศบาลพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากสภาเทศบาลพิจารณาไม่แล้วเสร็จ หรือไม่เห็นชอบกับร่างเทศบัญญัติดังกล่าว ให้ร่าง??